ความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ

  • คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2550 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 เห็นชอบหลักเกณฑ์พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่จะตั้งใหม่หรือขยายกำลังการผลิตในบริเวณพื้นที่ตำบลมาบตาพุดและตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง และตำบลบ้านฉาง (เฉพาะนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย) อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการด้านอุตสาหกรรมและด้านพลังงาน ซึ่งภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยอมให้มีการขยายกำลัง การผลิตหรือมีโครงการตั้งใหม่ได้ โดยกำหนดให้มีอัตราการระบายมลพิษ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไม่เกินร้อยละ 80 ของปริมาณมลพิษที่ได้มีการปรับลดลงตามหลักเกณฑ์การปรับลดอัตราการระบายมลพิษ 80:20 ซึ่งผลจากการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว พบว่าปัจจุบัน (มกราคม พ.ศ. 2561) อัตราการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดประเภทโครงการด้านอุตสาหกรรมและด้านพลังงานของทั้งพื้นที่มาบตาพุดลดลงจาก ปี พ.ศ. 2550 (ปีที่มีการเริ่มนำหลักเกณฑ์การปรับลดอัตราการระบายมลพิษ 80:20 มาใช้ในพื้นที่) โดยที่อัตราการระบาย (NOx) ลดลงประมาณร้อยละ 18 (ลดลงประมาณ 447 กรัมต่อวินาที) จากปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2561 ที่มีอัตราการระบายประมาณ 2,480 และ 2,033 กรัมต่อวินาที ตามลำดับ และอัตราการระบาย SO2 ลดลงประมาณ ร้อยละ 27 (ลดลงประมาณ 660 กรัมต่อวินาที) จากปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2561 ที่มีอัตราการระบายประมาณ 2,398 และ 1,737 กรัมต่อวินาที ตามลำดับ
  • จากข้อมูลดังกล่าว ถึงแม้ว่าอัตราการระบายมลพิษทางอากาศในพื้นที่มาบตาพุดปัจจุบันลดลงจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญจนอาจที่ขยายอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดได้ แต่ด้วยเหตุที่หลักเกณฑ์ 80:20 ดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการปรับลดอัตราการระบายมลพิษของโครงการเดิมลงก่อนที่จะมีการขยายกำลังการผลิตหรือมีการตั้งโครงการใหม่ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้อัตราการระบายของโครงการเดิม (Emission Offset) หรือขอใช้อัตราการระบายของโครงการอื่น (Emission Trading) สำหรับการขยายหรือตั้งโครงการใหม่ของผู้ประกอบการรายเดียวกันที่มีหลายโครงการในพื้นที่อาจไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่เคยมีโครงการในพื้นที่อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะไม่สามารถใช้วิธี Emission Offset ได้ หรือหากจะใช้วิธี Emission Trading ก็อาจไม่มีผู้ยอมยกอัตราการระบายให้ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ไม่สามารถตั้งโครงการในพื้นที่ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จะต้องดำเนินการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การระบายมลพิษในปัจจุบัน พร้อมทั้งศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการด้านการระบายมลพิษที่ดำเนินการในปัจจุบันตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขในเชิงนโยบายเพื่อให้พื้นที่มาบตาพุดมีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนที่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ

ระยะเวลาการดำเนินงาน


  • ภายใน 270 วัน (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 -วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563)     เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้ที่ปรึกษาไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนงานได้ จึงขยายระยะเวลาดำเนินการถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563